ข่าวประชาสัมพันธ์ บมจ. กสท โทรคมนาคม

ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับกิจการสื่อสารโทรคมนาคม

CAT ยกทัพเทคโนโลยี B2D โชว์ศักยภาพในงาน Digital Thailand Big Bang 2018

        วันนี้ (19 กันยายน 2561) พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม  จำกัด (มหาชน) หรือ CAT พร้อมด้วยดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน กรรมการบริษัทและคณะผู้บริหาร ร่วมงาน “Digital Thailand Big Bang 2018” ภายใต้แนวคิด “Thailand Big Data” โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมเป็นประธานบูธนิทรรศการ CAT  ซึ่งยกทัพเทคโนโลยีโชว์ศักยภาพความพร้อมของธุรกิจ ภายใต้คอนเซ็ปต์ B2D แสดงเทรนด์ทางธุรกิจทั้ง Big Data, Digital Service และ Digital Park พร้อมนำนวัตกรรม IoT ที่ใช้งานได้จริงมาให้สัมผัสกันอย่างเต็มที่ ด้านความคืบหน้าในส่วนของ Digital Park นั้นเหลือเพียงทำประชาพิจารณ์อีก 2 ครั้งก็จะนำเรื่องเข้าคณะกรรมการ EEC คาดว่าไม่เกินกุมภาพันธ์จะได้ผู้สนใจที่จะลงทุน PPP ส่วนบริการ Big Data คาดว่าน่าจะมีลูกค้าเริ่มใช้งานภายในสิ้นปีนี้

 

 

       พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยว่า CAT ยกทัพเทคโนโลยีโชว์ศักยภาพความพร้อมของธุรกิจ ในงาน Digital Thailand Big Bang 2018 ภายใต้คอนเซ็ปต์ B2D ที่จะแสดงให้เห็นถึงเทรนด์ทางธุรกิจใหม่ที่ CAT กำลังจะก้าวไป ประกอบด้วย Big Data, Digital Service และ Digital Park ซึ่งการจัดงานดังกล่าว CAT จับมือกับพันธมิตรกว่า 20 รายเข้าร่วมโชว์เทคโนโลยี มีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นนักศึกษาที่อยู่ในระดับปริญญาตรี สตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการรายย่อยหรือเอสเอ็มอี โดยคาดหวังว่าการจัดงานครั้งนี้ จะก่อให้เกิดการต่อยอดนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

     ภายในงานจะแบ่งเป็น 3 โซนที่มีความเชื่อมโยงกัน แสดงถึงนิวเทรนด์ที่ CAT จะโฟกัสนับจากนี้ โดย Big Data และ Digital Service จะเป็นแนวทางของเทคโนโลยีที่สอดคล้องไปด้วยกัน ส่วน Digital Park นั้นเป็นส่วนเสริมเข้ามาเพื่อต่อยอดการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นของคนไทยเอง สร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ไม่ใช่เป็นเพียงนำเทคโนโลยีของต่างชาติเข้ามาใช้ ประกอบไปด้วย

 

       1. โซน Big Data นำเสนอสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของวิดีโอ อินโฟกราฟฟิค ประมาณ 5 นาที เพื่อนำเสนอว่า Big Data คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ทำไมต้องใช้ และเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราอย่างไร รูปแบบโซนนี้จะเน้นให้ผู้เข้าเยี่ยมชมบูธได้รู้จัก Big Data ด้วยการจำลองบรรยากาศคล้ายโรงภาพยนตร์ คือ เปิดฉายภาพยนตร์ความยาวประมาณ 5 นาที ผ่านจอ LED ขนาดใหญ่ จัดเก้าอี้ให้นั่งชม มีการแจก Popcorn ให้กับผู้นั่งเสมือนกำลังชมภาพยนตร์อยู่

 

       2. โซน Digital Service ซึ่งจะเป็นโซนที่รวบรวมเรื่องของไอโอทีที่ CAT กำลังดำเนินการอยู่ ประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลักคือ Security Service and Video Analytics จะมีการติดตั้งอุปกรณ์กล้อง CCTV จำนวน 60 เครื่องบริเวณทางเข้าหลักของงานและตามแยกต่าง ๆ ภายในงาน โดยกล้องทางเข้าจะทำหน้าที่ถ่ายภาพใบหน้าและ register ผู้เข้าร่วมงาน และเชื่อมต่อกับกล้อง 4 ตัวเพื่อถ่ายภาพทั้ง 4 directions ในแยกนั้นๆ เพื่อทำ video analytics ต่างๆ เช่น Face recognition, path tracking แต่ละบุคคล, Gender/age ความหนาแน่นของคนในพื้นที่ โดยบูธ CAT จะมีจอ monitor แสดงผล analytics ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สำหรับผู้เข้าร่วมทั่วไปจะมีการจดจำแค่ใบหน้าแต่ไม่มีชื่อแสดงผล ส่วนแขก VIP จะมีการนำรูปเข้ามา register ก่อนวันงานเพื่อแสดงผลยืนยันบุคคล

 

       Smart Dashboard with LoRa applications เป็นการนำนวัตกรรม Internet of things เชื่อมต่อผ่านโครงข่าย LoRaWAN ของ CAT ไปแสดงข้อมูลเป็น graphic แบบที่เข้าใจได้ง่ายบนหน้า dashboard ซึ่งในงานนี้ CAT จะนำเสนอแพลตฟอร์ม LoRa Application 2 ระบบประกอบด้วย Smart Meter และระบบ Smart Lighting

 

       Smart Energy and Logistics เป็นการนำเสนอนวัตกรรม Internet of things มาประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ชาร์จรถ EV ซึ่งผู้ใช้งานสะดวกสบายขึ้น เช่น การค้นหาตำแหน่งแท่นชาร์จ การดูสถานะการชาร์จ และการชำระเงินค่าชาร์จ เป็นต้น ส่วน Smart Logistic คือการนำอุปกรณ์ IoT ไปใช้กับการขนส่งอย่างชาญฉลาด เช่น Track หาตำแหน่งของตู้สินค้า หรือการรายงานค่าความชื้อและอุณหภูมิในตู้สิ้นค้าแบบ real time และแบบ historical ได้ เป็นต้น

 

       Tourism Safety Support and Management System หรือระบบการจัดการความปลอดภัยด้านการ ท่องเที่ยว เป็นนวัตกรรมที่จะเข้ามาช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจจะเกิดกับนักท่องเที่ยว และช่วยลดผลกระทบต่างๆ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยระบบ ช่วยในการประสานงานของหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ประกอบการการท่องเที่ยวให้สอดคล้องและทันเวลามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการใช้งานจริงแล้วที่จังหวัดภูเก็ต ในรูปแบบของริชแบนด์ที่จะทำการแทรกกิงนักท่องเที่ยวได้ หากเกิดอุบัติเหตุหรือต้องการความช่วยเหลือ จะมีเซนเซอร์ที่สามารถกดเรียกเพื่อขอควาามช่วยเหลือได้

 

         3. โซน Digital Park Update นำเสนอข้อมูลการจัดพื้นที่ใน Digital Park ล่าสุด ให้มีความลงตัวมากขึ้น รวมถึงแสดงความคืบหน้าในส่วนต่างๆ ที่ทำการพัฒนาไปแล้วให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้น ผู้ที่สนใจสามารถดูข้อมูลสิทธิประโยชน์/ Latout ผ่านหน้าจอ touch screen โดยในส่วนของ Digital Park Update นี้ CAT คาดหวังที่จะดึงในส่วนของรีซอร์สต่างๆ รวมถึงนักลงทุนให้เข้ามารวมกันมากที่สุด เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะให้สตาร์ทอัพของไทยเข้าไปใช้งานรีซอร์สเหล่านั้น และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นของตนเองส่วนความคืบหน้าในส่วนของ Digital Park นั้น ขณะนี้ทำการได้จ้างที่ปรึกษาทำ PPP เรียบร้อยแล้ว และได้จัดทำประชาพิจารณ์ไปแล้ว 1 ครั้ง เหลืออีก 2 ครั้ง จากนั้นจะร่างเป็นทีโออาร์เข้าไปกับคณะกรรมการของ EEC เพื่อที่จะไปเปิดประมูล คาดว่าไม่เกินกุมภาพันธ์จะได้ผู้สนใจที่จะลงทุน PPP

 

       พันเอก สรรพชัย กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าของ Big Data นั้น จากการ CAT ได้รับมอบหมายให้ทำระบบทดสอบ (Sandbox) ให้กับหน่วยราชการทั้งหมดนั้น ขณะนี้มี 10 หน่วยงานที่เข้ามาพูดคุยในเรื่องเทคนิคว่ามีการใช้งานข้อมูลอะไรบ้าง และจะนำข้อมูลเหล่านั้นไปทำอะไร รวมไปถึงยังได้มีการฝึกอบรมเพื่อสร้างบุคลากรด้าน Big Data และการคุยกับพันธมิตรที่เป็นแพลตฟอร์มอยู่บน Big Data ของ CAT ให้มารวมเป็นแพลตฟอร์มเดียวกันแต่มีหลายบริการ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีลูกค้าเริ่มใช้งานภายในสิ้นปีนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา