ข่าวประชาสัมพันธ์ บมจ. กสท โทรคมนาคม

ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับกิจการสื่อสารโทรคมนาคม

CAT เสริมไอเดียลูกค้าก้าวล้ำสู่โลกดิจิทัล ตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการใช้ IoT กับหลักสูตร “LoRaWAN for Developer”

       ปัจจุบัน Smart City สำคัญๆ ในหลายประเทศทั่วโลก ต่างก็พัฒนาโซลูชั่นบริการอัจฉริยะต่างๆ อาทิ Smart Metering, Smart Buildings, Smart Lighting, Smart Parking, Smart Farming, Smart Logistics และ Smart Tourism โดยมีโครงข่ายสื่อสารไร้สาย LoRaWAN เป็นสื่อกลางในการรับ-ส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หรือเซ็นเซอร์ต่างๆ ซึ่งโครงข่าย LoRaWAN นับเป็นโครงข่ายเพื่อ Internet of Things (IoT) ที่เป็นหัวใจสำคัญของบริการอัจฉริยะดังกล่าว

       CAT สนับสนุนไทยแลนด์ 4.0 โดยให้ความสำคัญกับลูกค้าผู้ดูแลระบบไอทีองค์กร จึงเสริมไอเดียด้าน LoRaWAN ด้วยการจัดการฝึกอบรม“LoRaWAN for Developer” ขึ้น เพื่อให้ลูกค้า CAT มีความรู้เกี่ยวกับโครงข่าย LoRaWAN และความเข้าใจเทคโนโลยี IoT ได้มากขึ้น สามารถนำความรู้ไปพัฒนาโซลูชั่นที่เหมาะกับองค์กร เพื่อให้พร้อมที่จะก้าวสู่โลกดิจิทัลอย่างมั่นใจตลอดระยะเวลา 2 วัน ของการอบรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการอบรมได้เรียนรู้การทำงานของ LoRaWAN ที่เชื่อมการพูดคุยระหว่างอุปกรณ์ กับเซิร์ฟเวอร์หลัก โดยการควบคุม สั่งการ และเชื่อมโยงให้ข้อมูลจากอุปกรณ์ ส่งผ่านออกสู่โลกอินเทอร์เน็ต ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างสมบูรณ์ สามารถนำไปพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจที่ใช้ IoT ได้เป็นอย่างดี และนี่คือส่วนหนึ่งของความประทับใจของผู้เข้าร่วมการอบรม

 

 

 

คุณวรกร  คุรุวงศ์วัฒนา  ผู้เชี่ยวชาญเครือข่าย สำนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

         “สำนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่ายให้กับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งในแง่ของหน่วยงานภาครัฐ เราก็ประทับใจที่จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการทำงาน ในการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สพร. เองมีบริการโครงการ GIN ที่ได้ทำร่วมกับ CAT อยู่แล้ว ซึ่งเราอาจจะนำโครงข่ายไร้สายอื่นๆ ที่ CAT มีมาประยุกต์ใช้กับเครือข่ายได้มากขึ้น รวมทั้งจากการเข้าร่วมอบรมครั้งนี้ทำให้เราได้เห็นภาพรวมของ LoRa ที่จะช่วยในเรื่องของการทำ Sensor การทำระบบต่างๆ อาทิ Smart farm, Smart Agriculture ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย

            Internet of Things  หรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น ปัจจุบันกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้น แต่ประเด็นหลักคงหนีไม่พ้นเรื่องเทคโนโลยีที่ใช้ รวมถึงความปลอดภัย ซึ่งเราจำเป็นต้องนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ดู เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรจะใช้เทคโนโลยีนี้อย่างไรจึงจะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเรา และไม่ทำให้เกิดผลกระทบกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตาม”

 

คุณวรพงศ์  ศิลาพันธ์ ที่ปรึกษา บริษัท แอ็ดว้านซ์ แทรคกิ้ง เซอร์วิส จำกัด         

         “IoT ในปัจจุบันถือว่ามีการใช้งานอย่างแพร่หลาย และเริ่มมีการพัฒนามากขึ้นในทุกๆ หน่วยงาน ซึ่งความอัจฉริยะของ IoT นั้นแบ่งได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือเรื่องของอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ เช่น ทีวี ตู้เย็น ฯลฯ ส่วนที่สองเป็นเรื่องของความฉลาดของโครงข่าย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ให้บริการ

          ถ้าหากต้องนำ LoRa WAN มาใช้กับบริษัท ผมจะนำมาประยุกต์ใช้เพื่อลดค่าใช้จ่าย เพราะในส่วนของค่าเชื่อมต่อโครงข่าย LoRa มีค่าใช้บริการ (Air Time) ที่ถูกกว่าระบบอื่น และด้วย LoRa เป็นโครงข่ายที่กว้างทำให้ค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ต่างๆ ของเราลดลง”

 

คุณนพศักดิ์  ศุภภส Network Engineer Managerธนาคารกรุงเทพ

         “จากการเข้าอบรม LoRa WAN ในครั้งนี้ เนื่องด้วยเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ ทำให้หลายคนยังไม่เข้าใจว่า IoT นั้นมีการเชื่อมต่ออย่างไร แต่พอได้เข้าร่วมทำ Workshop ทำให้เห็นว่าจากภาพที่เราเคยเห็นผ่านสื่อโฆษณาหรือใน You Tube ที่แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อระหว่างทีวี ตู้เย็นหรือหลอดไฟที่ต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ นั้นมันเชื่อมต่อกันได้อย่างไร และใน Workshop ครั้งนี้ก็ได้ทำให้เราเห็นว่า ระหว่างตัวส่งผ่านมาที่ตัวสื่อสัญญาณแล้วมาถึงตัวที่เป็นหน้าจอ Display นั้นเมื่อทำงานประกอบกันแล้วออกมาเป็นอย่างไร และทำให้เข้าถึงอุปกรณ์ทั้ง 2 แบบ คือแบบที่มีการพัฒนาโปรแกรมลงในตัวอุปกรณ์ได้เลย และอีกแบบคืออุปกรณ์ประเภท OEM ที่เอามาติดตั้งแล้วสามารถใช้งานได้เลย ซึ่งหลักสูตรนี้เองที่ทำให้ได้เห็นถึงความยากง่ายของแต่ละอุปกรณ์มันแตกต่างกันขนาดไหน”

 

คุณสุวีร์ กุมาร Assistant Manager บริษัท ไดนามิค ไอที โซลูชั่น จำกัด

         “ความรู้ในเรื่อง LoRa WAN ที่ได้รับจากการอบรมครั้งนี้ วิทยากรถือเป็นผู้ที่มีความรู้ดี รวมถึงผู้ช่วยก็สามารถเข้ามาช่วยเหลือในเวลาที่มีปัญหาและสอนให้ได้ทันที อีกทั้งเครื่องมือที่นำมาสาธิตถือว่าครบ โดยรวมแล้วถือว่าดีมากครับ อย่างปกติอุปกรณ์ตัวนี้เราจะได้เห็นตาม You Tube หรือนิตยสารซึ่งเราจะไม่ได้จับตัวจริง เราจะไม่เห็นว่าเวลาอุปกรณ์ตัวนี้ไปเชื่อมต่อกับเครือข่ายแล้วจะเป็นอย่างไร เราจะไม่รู้ในเรื่องของ Network Key รวมถึง Message ต่างๆ ที่ส่งได้ อีกอย่างที่สำคัญคือเรื่องของราคา เพราะผมสงสัยมานานแล้วว่าอุปกรณ์พวกนี้จะราคาที่เท่าไหร่ การมาวันนี้ทำให้ได้คำตอบทั้งหมด

          สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้นั้นก็มีหลายๆ อย่างที่คิดไว้ อย่างหนึ่งก็คือ LoRa WAN น่าจะเพิ่มประสิทธิภาพให้หน่วยงานของเราได้ในเรื่อง Track Access ซึ่งเราจะมี Access ชิ้นใหญ่และอยู่ในต่างพื้นที่ ซึ่งถ้าเรานำ LoRa WAN มาใช้ก็จะสามารถทำให้เราตรวจสอบได้ว่า Access ตัวไหนพร้อมใช้งาน และตัวไหนที่อยู่ใกล้จุดที่เราต้องการใช้งาน ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเดินทางหรือไปย้ายเครื่องมือในจุดที่ไกลออกไป ซึ่งก็จะช่วยให้เราสามารถวางแผนเพื่อใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพยี่งขึ้น”

 

คุณสมยศ กวางประเสริฐ ผู้จัดการฝ่าย IT Infrastructure Network  บริษัท ซีพีเอฟ ไอทีเซ็นเตอร์ จำกัด

          “ในภาพรวม IoT ปัจจุบันก็ทราบอยู่แล้วว่าใครๆ ก็ใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งมันจะเข้ามาช่วยเราทั้งในเรื่องการอำนวยความสะดวกในชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ซึ่งต่างก็ต้องยอมรับว่าไม่ว่าเราจะเดินทางไปไหนมาไหนเราจำเป็นต้องมี Mobile ติดตัว ซึ่งทำให้สามารถทำงานที่บ้าน สั่งเปิดปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้านโดยใช้แอปพลิเคชั่นผ่าน IoT ส่วนในเรื่องของการทำงาน IoT ก็ช่วยให้เราไม่ต้องเดินทางไปทำงานถึงไซต์งาน เพราะเมื่อเราอยากเห็น หรืออยากมอนิเตอร์อะไรก็สามารถนำ IoT มาประยุกต์ใช้ ก็จะทำให้เราเห็นในสิ่งที่อยากเห็นโดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินทาง”

 

คลิกดูรายละเอียดบริการ:  http://www.catdatacom.com , https://loraiot.cattelecom.com/site/home

ติดตามข่าวสาร: http://www.cattelecom.com/cat/index.phphttps://www.facebook.com/catdatacomm/

https://www.facebook.com/loraiotbycat/

 

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา