CAT datacom News & promotion

ศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับ CAT datacom

เจาะลึกสงครามอินเทอร์เน็ตจากอวกาศ ...ดาวเทียมวงโคจรต่ำที่จะกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตทั่วโลก

12.11.2019

ปัจจุบันแม้เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยใยแก้วนำแสงหรือสายเคเบิลบนภาคพื้นดินจะถูกพัฒนาให้รุดหน้าแค่ไหน แต่ก็คงไม่เพียงพอต่อการรองรับสัญญาณ 5G ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ “อินเทอร์เน็ตจากอวกาศ” หรือการส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากดาวเทียม จึงกลายเป็นพระเอกที่มีบทบาทในการเสริมทัพให้การติดต่อสื่อสารมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  เพราะโครงข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมนั้น ต่อให้เราอยู่ในมุมไหนของโลกก็จะสามารถรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้เท่าเทียมกัน

 

ที่ผ่านมา สหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ ( ITU ) ได้แบ่งวงโคจรความสูงของอินเทอร์เน็ตดังต่อไปนี้  วงโคจรดาวเทียม LEO ( Low Earth Orbit ) จะมีระยะทางห่างจากโลกประมาณ 700 กิโลเมตร, วงโคจรดาวเทียม MEO- LEO จะมีระยะทางห่างจากโลกประมาณ 1500 กิโลเมตร และวงโคจรดาวเทียม MEO จะมีระยะทางห่างจากโลกประมาณ 10,000 กิโลเมตร

 

ดาวเทียมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ใช้วงโคจรต่ำ LEO ( Low Earth Orbit ) มีความสามารถพิเศษในการเชื่อมต่อระหว่างกับสถานีภาคพื้นดิน, ผู้ใช้งานภาคพื้นดินและเชื่อมต่อระหว่างกลุ่มดาวเทียมนับหมื่นๆ ดวงทั่วโลกได้ทันที ทำให้ช่วยถ่ายโอนอินเทอร์เน็ตให้กันได้ หากบางจุดเกิดปัญหา โดยใช้คลื่น Ku-band ที่เชื่อมต่อบนคลื่น 20-40GHz. โดยคลื่นดังกล่าวนั้น ภาคพื้นดินถือเป็นคลื่น 5G รองรับความความเร็วระดับ Gbps ซึ่งแตกต่างกับดาวเทียมสื่อสารปัจจุบันที่ไม่ได้ส่งสัญญาณด้วยวิธีนี้ทำให้ได้รับความเร็วที่ช้าเพียง Mbps เท่านั้น ที่สำคัญดาวเทียมที่ใช้ในวงโคจรนี้มักมีขนาดเล็กลงทุนไม่แพง ทำให้สามารถสร้างเครือข่ายดาวเทียมบนท้องฟ้าได้อย่างครอบคลุม

 


 

การแข่งขันด้านอุตสาหกรรมการสื่อสารในอวกาศนับวันยิ่งมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็น AMAZON ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกทางออนไลน์ ก็เตรียมพร้อมทำโครงการ Project Kuiper ซึ่งมีแผนการที่จะนำดาวเทียมจำนวน 3,236 ดวงขึ้นสู่วงโคจร เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม, บริษัทวันเว็บ (OneWeb) มีแผนจะสร้างดาวเทียม 2 ดวง ในรัฐฟลอริดา สำหรับโครงข่ายดาวเทียมกว่า 600 ดวง ที่คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี พ.ศ.2564 รวมทั้งคู่แข่งรายสำคัญอีกแห่งคือ Space X ของอีลอน มัสก์ ที่เพิ่งได้รับอนุญาตให้ส่งดาวเทียม 12,000 ดวงขึ้นไปอยู่ในวงโคจรที่ระดับความสูงต่างๆ ในชื่อโครงข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมสตาร์ลิงค์ (Starlink constellation)

 

ต่อมาอุตสาหกรรมดาวเทียมที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเริ่มศึกคัก หลังจากที่ 2 ค่ายอย่าง SpaceX และ OneWeb ได้ปล่อยหมัดเด็ดให้กับบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ในปี 2020 โดยมีต้นแบบอย่างผู้คุมกฏโทรคมนาคมอย่าง FCC ของประเทศสหรัฐอเมริกา คอยกำกับดูแลบริษัท และการควบคุมวงโคจรดาวเทียม LEO, MEO- LEO และ MEO เพื่อให้สามารถให้บริการดาวเทียมอินเทอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ล่าสุดทางผู้บริการ SpaceX และ COO Gwynne Shotwell ได้ยืนยันข้อมูลในการให้บริการ เตรียมให้บริการ Starlink ซึ่งเป็นบริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมในปีหน้า 2563 ซึ่งทาง SpaceX ได้รับอนุญาตจาก Federal Communications Commission (FCC) ให้ทำการปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศแล้วเป็นจำนวน 12,000 ดวง และนอกเหนือจากนั้นอีกจำนวน 30,000 ดวง ทาง SpaceX เตรียมขออนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน ซึ่งได้รับใบอนุญาตในปี 2020 หรือ 2567 เน้นการให้บริการอินเทอร์เน็ตในเมืองและพื้นที่ชนบท ซึ่งรองรับการให้บริการ 5G

 

ซึ่งดาวเทียมส่วนที่เหลือนั้น เป็นดาวเทียมที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติ เป็นดาวเทียมที่มีไว้เพื่อขยายความจุของโครงข่ายให้มีความสามารถในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้มากกว่าเดิม และตอบสนองผู้ใช้งานได้เพิ่มขึ้น

 

โดยทาง อีลอน มัสก์ ได้ยืนยันในการให้บริการความเร็วอินเทอร์เน็ตสูงถึง 1 Gbps -โดยดาวเทียม Starlink มีน้ำหนัก 227 กิโลกรัม ที่ลอยบนชั้นบรรยากาศที่ความสูงอยู่ที่ 550 กิโลเมตร ความจุโครงข่ายในการถ่ายโอนอินเทอร์เน็ต 125 Gbps ซึ่งถือเป็นวงโคจรต่ำ โดยใช้แสงอาทิตย์เป็นพลังงาน โดยอายุการใช้งานอยู่ที่ 5 ปี หลังจากนั้นก็จะถูกทำลายด้วยชั้นบรรยากาศ



แหล่งข่าวจาก SpaceNews พบว่าราคาการให้บริการกับผู้บริโภคในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมเป็นจำนวน 80 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าอยู่ในช่วงทดสอบการให้บริการก็ตาม โดยผู้ที่ใช้งานส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานวิจัยกองทัพอากาศสหรัฐและความมั่นคง

 

และการให้บริการครั้งนี้ยังเอื้อประโยชน์ต่อการติดต่อสื่อสารในกลุ่ม 8 ประเทศในทวีปแอนตาร์กติกา ซึ่งประเทศกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างใหญ่แต่มีประชากรอยู่น้อยและอยู่เป็นกลุ่มชุมชนเล็กๆ ไม่เหมาะสำหรับการวางโครงข่าย Fiber ส่งผลให้ประชากรในบริเวณดังกล่าวไม่สามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้

 

               



ด้าน OneWeb เตรียมเปิดให้บริการดาวเทียมที่เชื่อมต่อโครงจรของโลกในระยะต่ำ (LEO) โดยใช้ความสูงอยู่ในระยะ 1,200 กิโลเมตร หรืออยู่ในระยะ 720 ไมล์ จากพื้นโลก โดยความสูงดังกล่าวนั้นมีจำนวนดาวเทียมที่ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศประมาณ 650 ดวง ซึ่งทางดาวเทียมของ OneWeb จะทำการใช้เทคนิคถ่ายทอดสัญญาณมายังพื้นโลก รูปแบบคลื่น Ku band ซึ่งทำให้ดาวเทียมมีความจุในการถ่ายทอดสัญญาณปริมาณมหาศาลอยู่ที่ 375 Gbps ค่า high-speed และ low-latency internet มีจำนวนน้อยลงอย่างมาก โดยความจุดังกล่าวสามารถใช้งานแทนเส้น Fiber เพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของประชาชนในภาคพื้นดิน, สนับสนุนการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตภาคขนส่ง และรองรับการใช้บริการ 5G เช่น การให้บริการอินเทอร์เน็ตบนเครื่องบินโดยสาร , กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียม หรือกลุ่มประมง เป็นต้น

 

ดาวเทียมดังกล่าวพร้อมเปิดให้บริการจริงในช่วงปี ค.ศ.2020 ซึ่งช่วงที่ผ่านมา OneWeb ได้ทำการปล่อยดาวเทียมเพื่อทดสอบระบบแล้วเป็นจำนวน 6 ดวง จาก 1,942 ดวง โดยน้ำหนักของดาวเทียมกลุ่มนี้อยู่ที่ประมาณ 125 กิโลกรัม



Amazon เอง ก็บุกให้บริการ ดาวเทียมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่าง Project Kuiper ซึ่งเตรียมให้บริการ 3,236 ดวง ซึ่งถือเป็นกองทัพดาวเทียมอีกกลุ่มที่สร้างความตื่นเต้นให้กับชาวโลก ซึ่งเตรียมให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วระดับ Gbps เพื่อท้าชน SpaceX, OneWeb โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตดังกล่าว จะวางระดับดาวเทียมแตกต่างกัน โดยจะมีดาวเทียม 784 ดวงอยู่ที่ความสูง 367 ไมล์, ดาวเทียม1,296 ดวงอยู่ที่ความสูงที่ 379 ไมล์และ ดาวเทียม 1,156 ดวงอยู่ที่ความสูงที่ 391 ไมล์

 

ที่น่าสนใจคือ ดาวเทียมอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่าง Project Kuiper เน้นการให้บริการอุปกรณ์ Internet of Things ตั้งแต่ smart lights จนถึง dog collars ซึ่งผู้ให้บริการดาวเทียมอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์มักใช้วงโคจรดาวเทียม LEO ในช่วงคลื่นความถี่ Ka-band 24-40 GHz และ Ku-Band (12-18GHz) ซึ่งการส่งสัญญาณในช่วงนี้จะทำให้สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภาคพื้นดินกับประชาชนที่พักอาศัยบนโลก โดยมีผู้ให้บริการอย่าง SpaceX , OneWeb และ Amazon
 


นี่จึงเป็นอีกความตั้งใจของผู้ให้บริการดาวเทียมอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ความเร็วสูงทั่วโลก ที่มุ่งมั่นพัฒนาโครงข่ายสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้ทันกับการเปิดใช้งาน 5G บนภาคพื้นดิน สำหรับในประเทศไทยเอง CAT หรือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ก็ได้เตรียมพร้อมรองรับการพัฒนาใช้งานเทคโนโลยีเครือข่าย ที่จะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้ ด้วยการเจรจากับพันธมิตรธุรกิจระบบดาวเทียม Low Earth Orbit และเสนอพื้นที่สถานีดาวเทียมภาคพื้นดินของ CAT และ Facility ต่างๆ ให้เป็นสถานี Gateway ของเครือข่าย ที่รับ-ส่ง Data และ Tracking ดาวเทียม ซึ่งจะเริ่มเห็นความชัดเจนก่อนปี 2566

 

 

    โดย ดีรณา อุทธา บรรณาธิการและนักเขียนแห่ง ADSLTHAILAND

 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา