About CAT Telecom Public Company Limited
สถานะทางกฎหมาย : |
จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
|
ทะเบียนเลขที่ : |
0107546000229
|
ประเภทธุรกิจ : |
ประกอบกิจการโทรคมนาคมและให้บริการทางด้าน โทรคมนาคม ทุกลักษณะ ทุกประเภท รวมถึงกิจการ ที่ต่อเนื่องหรือใกล้เคียงกัน หรือที่เกี่ยวกับ หรือซึ่ง เป็นประโยชน์แก่การประกอบกิจการ โทรคมนาคม และ ให้บริการทางด้านโทรคมนาคมดังกล่าวทั้งใน ประเทศ ระหว่างประเทศ และนอกประเทศ
|
ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว : |
10,000,000,000.- บาท (หนึ่งหมื่นล้านบาทถ้วน)
|
ชนิดหุ้น : |
เป็นหุ้นสามัญ 1,000,000,000 หุ้น (หนึ่งพันล้านหุ้น)
|
มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ : | 10 บาทต่อหุ้น (สิบบาทถ้วน) |
CAT มีการให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมประเภทต่าง ๆ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก อาทิ บริการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม บริการวงจรความเร็วสูง บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ เป็นต้น ปัจจุบัน CAT ให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมโดยใช้ทั้งดาวเทียมในประเทศและระหว่างประเทศ อาทิ THAICOM, ABS, ASIASAT, MEASAT, VIANASAT, PALAPA, AGILA, INTELSAT, NSS
นอกจากนั้น CAT ยังให้บริการสื่อสารผ่านรถถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยสามารถให้บริการถ่ายทอดภาพและเสียงในรายการกีฬาระดับนานาชาติ เช่น กีฬาซีเกมส์ กอล์ฟ ฟุตบอลโลก และกีฬาอื่น ๆ ตามความต้องการของลูกค้า รวมทั้งให้บริการถ่ายทอดรายการประชุมระดับนานาชาติ เช่น การประชุมอาเซียน ถ่ายทอดข่าวผู้นำชาติต่าง ๆ เยือนประเทศไทย ถ่ายทอดข่าวให้กับสำนักข่าวต่างประเทศ CNN, NHK, Asia works รวมถึงการสื่อสารเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยต่าง ๆ
CAT มีสถานีดาวเทียมเพื่อการติดต่อสื่อสารทั้งในและระหว่างประเทศจำนวน 3 สถานี ได้แก่
สถานีดาวเทียมศรีราชา: สถานีดาวเทียมศรีราชา ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สถานีดาวเทียมศรีราชาเป็นสถานีดาวเทียมแห่งแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศเมื่อปี 2511
สถานีดาวเทียมนนทบุรี: สถานีดาวเทียมนนทบุรี ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เปิดให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศเมื่อปี 2541 สถานีดาวเทียมนนทบุรีได้รับใบรับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001 สำหรับการให้บริการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมและบริการข้อมูลความเร็วสูง
สถานีดาวเทียมสิรินธร: สถานีดาวเทียมสิรินธร ตั้งอยู่ที่อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี จัดสร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างความสามารถและความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการสื่อสารโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สถานีดาวเทียมสิรินธร เปิดให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศเมื่อปี 2543
ปัจจุบัน CAT มีโครงข่ายสื่อสัญญาณเคเบิลใยแก้วภาคพื้นดินเชื่อมโยงระหว่างสถานีสื่อสัญญาณภายในประเทศและสถานีบริการสื่อสารข้อมูล/อินเทอร์เน็ตระยะทางโดยรวมประมาณ 32,000 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ในระดับอำเภอและตำบลบางส่วน รวมทั้งเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เมียนมา ลาว กัมพูชา มาเลเซีย เพื่อรองรับการให้บริการ กลุ่มประเทศ AEC ด้วยเทคโนโลยีสื่อสัญญาณความเร็วสูง DWDM (Dense Wavelength Division Multiplexing) ที่ปัจจุบันมีความสามารถรับส่งสัญญาณได้เร็วกว่า 100 Gbps รวมทั้งเทคโนโลยี ASON ที่สามารถรองรับ Multi-failure ที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์และข่ายสายเคเบิลได้ ทำให้ระบบสื่อสัญญาณเคเบิลใยแก้วภาคพื้นดินมีความสามารถรองรับการใช้งานสื่อสารความเร็วสูง รวมทั้งมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) สูง มีระดับการให้บริการ (Class of service) ที่หลากหลายตามความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ เทคโนโลยี Next Generation SDH (Synchronous Digital Hierarchy) ที่ใช้เพื่อการให้บริการวงจรเช่าความเร็วสูง (Leased circuit) และวงจร Ethernet ก็มีความสามารถรองรับการใช้งานที่ต้องการแบนด์วิดท์สูง ๆ ได้อย่างมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพ โดยปัจจุบันระบบสื่อ สัญญาณดังกล่าวเป็นระบบพื้นฐานหลักในการให้บริการต่าง ๆ ของ CAT ทั้งบริการโทรศัพท์ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ my บริการสื่อสารข้อมูล และบริการอินเทอร์เน็ต
CAT ได้ลงทุนจัดสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วทั้งในและระหว่างประเทศหลายระบบ เพื่อรองรับการให้บริการโทรคมนาคมทุกรูปแบบ รวมทั้งเพื่อทำหน้าที่เป็น International Gateway ให้แก่การสื่อสารกับต่างประเทศ และเป็นระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลักและสำรองควบคู่ไปกับระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ปัจจุบัน CAT มีระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วที่ CAT ได้ลงทุนจัดสร้างและมีจุดขึ้นบกที่ประเทศไทยดังนี้ APG (Asia Pacific Gateway): ระบบเคเบิลใต้น้ำ APG เป็นระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วที่เชื่อมโยงระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับเอเชียตะวันออก โดยมีจุดขึ้นบกที่ประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน เขตปกครองพิเศษฮ่องกง เวียดนาม ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ระบบมีจุดขึ้นบกที่ประเทศไทยที่สถานีเคเบิลใต้น้ำ ชลี 2 จ.สงขลา โดยเปิดให้บริการเมื่อเดือนธันวาคม 2559
AAG (Asia America Gateway): ระบบเคเบิลใต้น้ำ AAG เป็นระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วที่เชื่อมโยงระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฝั่งตะวันตกของอเมริกา โดยมีจุดขึ้นบกที่ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง เกาะกวม รัฐฮาวายและรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ระบบมีจุดขึ้นบกที่ประเทศไทยที่สถานีเคเบิลใต้น้ำ ชลี 3 จ.ชลบุรี ระบบเปิดให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศเมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2552
SMW 4 (Southeast Asia-Middle East-Western Europe 4 : SEA-ME-WE 4): ระบบเคเบิลใต้น้ำ SMW4 เป็นระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจุดขึ้นบกที่ประเทศต่าง ๆ จำนวน 14 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส แอลจีเรีย ตูนีเซีย อิตาลี อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ระบบมีจุดขึ้นบกที่ประเทศไทยที่สถานีเคเบิลใต้น้ำ ชลี 4 จ.สตูล ระบบเปิดให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548
TIS (Thailand Indonesia Singapore): ระบบเคเบิลใต้น้ำ TIS เป็นระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศไทย อินโดนิเซีย และสิงคโปร์ ระบบมีจุดขึ้นบกที่ประเทศไทยที่สถานีเคเบิลใต้น้ำ ชลี 2 จ.สงขลา ระบบเปิดให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546 |
SMW 3 (Southeast Asia-Middle East- Western Europe 3 : SEA-ME-WE 3): ระบบเคเบิลใต้น้ำ SMW 3 เป็นระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วที่เชือมโยงระหว่าง 4 ทวีป ได้แก่ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย โดยมีจุดขึ้นบกทั้งหมด 39 จุดใน 33 ประเทศ ดังนี้ เยอรมนี เบลเยียม อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส โมร็อกโก อิตาลี กรีซ ตุรกี อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย ไซปรัส จิบูตี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน ปากีสถาน อินเดีย
FLAG (Fiber Optic Link Around the Globe): ระบบเคเบิลใต้น้ำ FLAG เป็นระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วที่เชื่อมโยงระหว่างเอเชียตะวันออกไกลและยุโรป โดยมีจุดขึ้นบกที่ประเทศอังกฤษ สเปน อิตาลี อิยิปต์ จอร์แดน ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินเดีย มาเลเซีย ไทย เขตปกครองพิเศษฮ่องกง จีน เกาหลี และญี่ปุ่น ระบบมีจุดขึ้นบกที่ประเทศไทยที่สถานีเคเบิลใต้น้ำ ชลี 2 จ.สงขลา ระบบเปิดให้บริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540
ระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วในประเทศ (Domestic Submarine Optical Fiber System) DSCN (Domestic Submarine Cable Network): ระบบเคเบิลใต้น้ำ DSCN เป็นระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วเชื่อมต่อภายในประเทศ โดยมีจุดขึ้นบก 5 จุด ดังนี้ สถานีเคเบิลใต้น้ำ ชลี 1 จ.เพชรบุรี สถานีเคเบิลใต้น้ำ ชลี 2 จ.สงขลา สถานีเคเบิลใต้น้ำ ชลี 3 จ.ชลบุรี สถานีเคเบิลใต้น้ำ ชลี 5 จ.ชุมพร และสถานีสื่อสารโทรคมเกาะสมุย ระบบเปิดให้บริการโทรคมนาคมเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544
CSN (CAT Submarine Network): ระบบเคเบิลใต้น้ำ CSN เป็นระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วเชื่อมต่อระหว่างสถานีเคเบิลใต้น้ำ ชลี 2 จ.สงขลา สถานีเคเบิลใต้น้ำ ชลี 3 จ.ชลบุรี และแท่นสำรวจและผลิตจำนวน 11 แท่น ผ่านอุปกรณ์แยกสัญญาณ Branching Unit ระบบเปิดให้บริการโทรคมนาคมเมื่อไตรมาส 1 ปี 2556 สถานีเคเบิลใต้น้ำ: CAT จัดสร้างสถานีเคเบิลใต้น้ำ จำนวน 5 สถานี ได้แก่
|
ปี พ.ศ. 2564 |
|
ปี พ.ศ. 2562 |
|
|
ปี พ.ศ. 2561 |
ปี พ.ศ. 2560 |
ปี พ.ศ. 2559 |
ปี พ.ศ. 2558 |
|
ปี พ.ศ. 2557 |
ปี พ.ศ. 2556 |
ปี พ.ศ. 2555 |
ปี พ.ศ. 2554 |
|
ปี พ.ศ. 2553 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอคอนเทนต์ที่ดีให้กับท่าน รวมถึงเพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีบนบริการของเว็บไซต์เรา หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ต่อไปโดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ นั่นเป็นการแสดงว่าท่านอนุญาตยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา